ปัญญาประดิษฐ์กับการดูแลสุขภาพด้วยนาฬิกาอัจฉริยะ (Smartwatch)
Student blog — 07/03/2025

ยุคสมัยที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ทำให้มีคนสนใจในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากมีความต้องการที่จะมีสุขภาพที่ดี และทำให้มีร่างกายแข็งแรง ลดโรค และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การดูแลสุขภาพกลายเป็นเรื่องง่ายและสะดวกสบายมากขึ้น หนึ่งในอุปกรณ์ยอดนิยมที่ช่วยให้สามารถติดตามสุขภาพได้อย่างใกล้ชิดก็คือ Smartwatch หรือนาฬิกาอัจฉริยะ นอกจากการบอกเวลาและแจ้งเตือนต่าง ๆ Smartwatch ยังโดดเด่นในเรื่องของฟังก์ชั่นการติดตามสุขภาพ โดยเฉพาะฟังก์ชั่นการนับก้าว ผู้เขียนเป็นหนึ่งในผู้โชคดีที่ได้รับรางวัลพิเศษจากงานปีใหม่ของมหาวิทยาลัย จับรางวัลได้ Smartwatch ทำให้เริ่มดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้นเพราะมีเครื่องมือในการตรวจนับ ง่ายต่อการส่งเสริมการออกกำลังกายโดยเฉพาะการเดิน ซึ่งการเดินเป็นการออกกำลังกายพื้นฐาน สามารถทำได้ง่ายและไม่สิ้นเปลือง
ความรู้ต้องควบคู่กับการใช้ AI เสมอ การแปลความหมายของการก้าวเดิน ในแต่ละวัน จะทำให้ผู้ออกกำลังกายมีเป้าหมายของการดูแลสุขภาพที่ชัดเจน การก้าวเดินจะช่วยเสริมสุขภาพได้ดังนี้
ความรู้ต้องควบคู่กับการใช้ AI เสมอ การแปลความหมายของการก้าวเดิน ในแต่ละวัน จะทำให้ผู้ออกกำลังกายมีเป้าหมายของการดูแลสุขภาพที่ชัดเจน การก้าวเดินจะช่วยเสริมสุขภาพได้ดังนี้
- จำนวนก้าวเดินน้อยกว่า 5,000 ก้าว หมายถึง การเริ่มมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง
- จำนวนก้าวเดิน 5,000 – 7,499 ก้าว เท่ากับการออกกำลังกายระดับเบา
- จำนวนก้าวเดิน 7,500 ก้าว เท่ากับการออกกำลังกายระดับปานกลาง
- จำนวนก้าวเดิน 10,000 ก้าว ป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
ประโยชน์ของการเดินยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายยืดหยุ่นคล่องตัว ทำให้ข้อเข่ามีความยืดหยุ่นแข็งแรง ทำให้ปอดและการหายใจมีประสิทธิภาพ อารมณ์ผ่อนคลายและหลับง่าย การนับก้าวผ่าน Smartwatch เป็นวิธีง่าย ๆ และสะดวกสบายในการติดตามสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้น ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องง่าย สนุกสนาน และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
นอกจากนาฬิกา ยังมีเครื่องมือที่สามารถพกติดตัวได้ง่าย (Wearable AI) เช่น แว่นตา แหวน เสื้อ และอีกมากมายที่สามารถวัดค่า และอัตราต่างๆ ของร่างกาย เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ การเผาผลาญพลังงาน หรือการนอนหลับ ทั้งหมดนี้สามารถช่วยให้การติดตามสุขภาพของตนเองทำได้ง่ายและทันที ซึ่งแนวโน้มการดูแลสุขภาพโดยใช้ AI มาช่วยในการ Monitor จึงเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างมาก ซึ่งบทบาทพยาบาล นักศึกษาพยาบาล หรือบุคลากรด้านสุขภาพต้องช่วยกันส่งเสริม ให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี เป็นการ ”สร้างนำซ่อม” หมายความว่า ต้องป้องกันไม่ให้เกิดอาการเจ็บป่วย ให้ประชาชนมีสุขภาพที่แข็งแรง ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีมาดูแลสุขภาพในชีวิตประจำวัน และเชื่อว่าในอนาคตอาจจะได้เห็น Wearable AI ที่ใช้เพื่อสุขภาพที่มากขึ้น เพื่อประสิทธิภาพของการดูแลสุขภาพ และร่างกายมนุษย์ที่ตอบโจทย์มากขึ้น หากรับรู้ถึงปัญหาได้ไว สุขภาพยิ่งดีขึ้นตามลำดับ
อ้างอิง
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เดินไปนับไป เสริมสุขภาพด้วย Smartwatch. สืบค้นจาก https://web.facebook.com/photo.php?fbid=856541289988368&id=100068975147241&set=a.242899614685875&locale=th_TH&_rdc=1&_rdr# สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2567
หทัยชนก บัวเจริญ และวริยา จันทร์ขำ. การใช้นวัตกรรมทางสุขภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์ในการพยาบาล.
วารสารพยาบาล, 2563: 69(4), 60-67.
วารสารพยาบาล, 2563: 69(4), 60-67.
ศรุดา ทิพย์แสง. นาฬิกาอัจฉริยะ สมาร์ตวอช (Smart Watch). สืบค้นจาก https://www.scimath.org/article-technology/item/10972-smart-watch สืบค้นเมื่อ 28 มกราคม 2567.
ผู้เขียน: โดยอาจารย์นวพร มามาก คณะพยาบาลศาสตร์