Blog

อาหารเป็นยา – You are what you eat

nursing

อาหารเป็นยา – You are what you eat

Student blog — 13/05/2025

อาหารเป็นยา – You are what you eat

บทความสุขภาพ
“อาหารเป็นยา: You are what you eat”

โดยอาจารย์นวพร มามาก

คณะพยาบาลศาตร์

อาหารทุกประเภทมีทั้งให้ประโยชน์และให้โทษ จึงควรเลือกบริโภคอย่างเหมาะสม “You are what you eat” เป็นสำนวนที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญในการบริโภคอาหาร ทั้งในด้าน “ปริมาณ” และ “คุณภาพ” สิ่งที่เราป้อนเข้าสู่ร่างกายควรยึดหลักการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของผัก ผลไม้ สมุนไพรในปริมาณที่เหมาะสมและเพียงพอ และที่สำคัญอาหารต้องสะอาด ไม่ปนเปื้อนสารพิษ

อาหารช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เพราะร่างกายประกอบขึ้นมาจากสิ่งที่เรากินเข้าไป ไม่ใช่สิ่งที่เราไม่ได้กิน หรือ You are what you eat กินอย่างไร เราก็กลายเป็นอย่างนั้น อาหารจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ คำกล่าวว่า “You are what you eat” สะท้อนถึงความเชื่อมโยงระหว่างอาหารและสุขภาพ จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าอาหารสามารถเป็นยาที่ช่วยป้องกัน บรรเทา และรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ การบริโภคอาหารที่เหมาะสมสามารถลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ เช่น 

  • โรคหัวใจและหลอดเลือด: อาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน วอลนัท ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า เมล็ดเจีย วอลนัท ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต
  • โรคเบาหวาน: การบริโภคอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวกล้อง ผักใบเขียว และผลไม้ สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้
  • โรคมะเร็ง: สารต้านอนุมูลอิสระในผักและผลไม้ เช่น เบตาแคโรทีนในแครอท และไลโคปีนในมะเขือเทศ ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิด

นอกจากนี้อาหารยังทำหน้าที่เสมือนยาที่ช่วยบรรเทาอาการหรือสนับสนุนการรักษาโรค เช่น

  • โรคข้ออักเสบ: ขมิ้นชันซึ่งมีสารเคอร์คูมิน (curcumin) ช่วยลดการอักเสบ
  • โรคลำไส้แปรปรวน: โพรไบโอติกในโยเกิร์ตและคีเฟอร์ช่วยปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้
  • โรคโลหิตจาง: อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เนื้อแดง และผักโขม ช่วยเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดง

การเลือกอาหารอย่างมีสติช่วยส่งเสริมสุขภาพในระยะยาว หลักการที่ควรปฏิบัติ ได้แก่ 1) บริโภคผักและผลไม้ให้มาก ควรรับประทานอย่างน้อย 5 ส่วนต่อวัน 2) หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูปbอาหารที่มีน้ำตาล เกลือ และไขมันทรานส์สูง เช่น ขนมขบเคี้ยวและอาหารฟาสต์ฟู้ด3) ดื่มน้ำให้เพียงพอเพราะน้ำเป็นส่วนสำคัญของการเผาผลาญและการขับสารพิษออกจากร่างกาย

การวิจัยหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่า การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคอาหารสามารถส่งผลต่อการควบคุมโรคเรื้อรังได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานประเภท 2 ที่เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีขึ้น และลดความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อน อาหารจึงไม่เป็นเพียงปัจจัยที่มีบทบาทในการดำรงชีวิต แต่ยังเป็น “ยา” ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำกล่าว “You are what you eat” เป็นการเตือนให้เราตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เพื่อตอบโจทย์การดูแลสุขภาพทุกช่วงวัย การดูแลเรื่องโภชนาการจึงเป็นสิ่งสำคัญ คณะพยาบาลศาตร์จึงจัดการเรียนการสอนในรายวิชาชีวเคมีและโภชนศาสตร์ เพื่อเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการดูแลสุขภาพทุกช่วงวัย

 

อ้างอิง  https://www.nsm.or.th/nsm/th/node/3997, https://mgronline.com/goodhealth/detail/9680000015692

 

แชร์บทความนี้
โปรโมชั่นแนะนํา

หลักสูตร

คณะพยาบาลศาสตร์  

ทั้งหมด

*

** คุณสมบัติผู้ขอกู้ กยศ.

*

** คุณสมบัติผู้ขอกู้ กยศ.